Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 135 Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 136 Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 137 Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 138 Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 139 Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 140 Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 141 Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 142 Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 143 Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 144 Warning: require(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 183 Warning: include_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-settings.php on line 195 Warning: require_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-content/plugins/nextgen-gallery/nggallery.php on line 284 Warning: require_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-content/plugins/nextgen-gallery/nggallery.php on line 285 Warning: require_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-content/plugins/nextgen-gallery/nggallery.php on line 286 Warning: require_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-content/plugins/nextgen-gallery/nggallery.php on line 287 Warning: require_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-content/plugins/nextgen-gallery/nggallery.php on line 288 Warning: require_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-content/plugins/nextgen-gallery/nggallery.php on line 289 Warning: require_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-content/plugins/nextgen-gallery/widgets/widgets.php on line 7 Warning: require_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-content/plugins/nextgen-gallery/nggallery.php on line 290 Warning: require_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-content/plugins/nextgen-gallery/nggallery.php on line 291 Warning: require_once(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-content/plugins/nextgen-gallery/nggallery.php on line 294 Warning: include(): Unable to allocate memory for pool. in /home/web/mab.eco.ku.ac.th/html/wp-includes/template-loader.php on line 47 โครงการบัณฑิตศึกษา ภาคพิเศษ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร » จุดเด่น

จุดเด่น

จุดเด่นของโครงการบัณฑิตศึกษา ภาคพิเศษ ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

1. ความเป็นผู้นำในวิชาการเศรษฐศาสตร์เกษตรของประเทศ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีรากฐานวิชาการด้านการเกษตรที่แข็งแกร่ง ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานในด้านการเรียนการสอน การวิจัยค้นคว้าที่สะท้อนถึงความรอบรู้อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาการเศรษฐศาสตร์ที่เจาะลึกด้านเกษตร ณ คณะเศรษฐศาสตร์แห่งนี้ จนมีคำกล่าวว่า “ถ้าจะเรียนรู้ให้รอบด้านเรื่องเกษตร ต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศที่เปิดสอนด้านการเกษตร ตลอดจนการเป็นสถาบันแห่งแรกของประเทศที่เปิดสอนวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรในทุกระดับปริญญา

 

2. การเพิ่มประสบการณ์นอกชั้นเรียนด้วยการดูงานภาคสนามทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากภาคทฤษฎีที่ผู้ศึกษาจะได้รับจากชั้นเรียนและตำรับตำราแล้ว ระบบการเรียนการสอนของโครงการฯ ณ สถาบันแห่งนี้ยังเน้นที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยการดูงานภ าคสนามทั้งในประเทศและต่างประเทศ

แนวคิดในการจัดกิจกรรมการดูงานภ าคสนามของโครงการฯ คือ ต้องการเปิดโลกทัศน์ของผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อความพร้อมที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้ทันที ดังนั้น ความหลากหลายของหน่วยงานที่ไปศึกษาจึงเป็นเรื่องที่โครงการฯ ตระหนักชัด ด้วยถือว่ากิจกรรมยิ่งแตกต่างกันออกไปสาระประโยชน์ที่พึงได้รับยิ่งมากเป็นทบทวี การดูงานจึงเกิดขึ้นได้ในทุกภ ูมิภาคของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การตลาด การค้า และการแปรรูปผลิตภ ัณฑ์เกษตรต่างๆ

 

3. ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในหลายประเทศ

ภาควิชาฯ มีโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอื่นๆ ซึ่งเป็นผลดีแก่ผู้เรียนในแง่ที่ได้รับวิชาการที่เป็นสากล และปรับเปลี่ยนให้ทันกระแสเศรษฐกิจโลกอยู่เสมอ เพื่อพร้อมคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจแห่งอนาคต เป็นการเน้นย้ำให้ผู้เรียนตระหนักถึงการศึกษาในลักษณะที่เป็นพลวัต (dynamic) เพราะแก่นแท้แห่งศาสตร์สาขานี้คือการมองเศรษฐกิจเป็นกระบวนการ (process) มีความต่อเนื่องและไม่หยุดนิ่ง ในอนาคตทางโครงการฯ มีแผนที่จะให้นิสิตมีการลงทะเบียนเรียนในบางรายวิชาข้ามมหาวิทยาลัย กล่าวคือ เรียนที่ต่างประเทศ ณ มหาวิทยาลัยที่อยู่ในโครงการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง

 

4. ความพร้อมของหน่วยบริการการศึกษา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความพร้อมในการให้บริการของหน่วยงานที่ส่งเสริมการศึกษาแก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็น

“สำนักหอสมุดกลาง” อันเป็นแหล่งรวมสรรพวิชา โดยเฉพาะความรอบรู้ด้านการเกษตร

“ห้องสมุดพิทยาลงกรณ” ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาจัดการระบบเพื่อความสะดวก แก่ผู้ใช้บริการ ตลอดจนที่นั่งอ่าน ซึ่งแยกมุมเป็นสัดส่วนเฉพาะนิสิตปริญญาโท

“ห้องคอมพิวเตอร์ประจำภาควิชาฯ” แยกใช้งานเป็นเอกเทศ ไม่ปะปนกับภาควิชาอื่นๆ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในห้อง ถูกเปลี่ยนทดแทนให้ทันสมัยอยู่เสมอ และยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนท่องเว็บไซต์เพื่อคัดสรรหลากความรู้จากโลก อินเตอร์เน็ตได้ดังใจ

“ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ศูนย์รวมตำราชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ

“ห้องเรียนแยกเป็นสัดส่วน” ห้องเรียนของโครงการฯ จะแยกจากห้องเรียนรวมของนิสิตอื่นๆ ภายในห้องเรียน ครบครันด้วยอุปกรณ์ประกอบการเรียน การสอน ทั้งเครื่องฉายแผ่นใส เครื่อง LCD Projector เครื่องเสียง ตลอดจนเครื่องปรับอากาศที่ติดตั้งไว้พร้อมทุกห้อง

 

5. การเรียนนอกเวลาราชการ

นับเป็นผลดีแก่ผู้ศึกษา เพราะสามารถเรียนได้โดยไม่ต้องลางานหรือลาออกจากงาน ทางโครงการฯ จัดตาราง การเรียนระหว่างเวลา 18.00 – 21.00 น. ในวันจันทร์ถึงศุกร์เป็นหลัก (สัปดาห์ละ 4 วัน) และอาจมีการสอนในเวลา 9.00 – 12.00 น. และเวลา 13.00 – 16.00 น. ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ นิสิตของโครงการฯ จึงสามารถบริหารเวลาเรียนและเวลางานได้อย่างเป็นระบบ

 

“ข้อเด่นทั้งห้าประการที่กล่าวมาข้างต้นแสดงถึงความพร้อมของโครงการฯ ในการให้บริการการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรแก่ผู้สนใจทุกท่าน”